วาฬมิงกี้ (Minke Whale)
ยาว 8-10 เมตร
หนัก 9 ตัน
วาฬมิงกี้เป็นวาฬแห่งแดนขั้วโลกขนาดเล็กที่สุดในหมู่ Rorqual (วาฬบาลีนที่มีกระโดงและคอพับทบกัน) ที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า “วาฬทวนเล็ก” และ “วาฬมีครีบหัวแหลม” วาฬมิงกี้ประกอบไปด้วย 2 สปีชีส์ย่อย (วาฬมิงกี้ธรรมดา และวาฬมิงกี้แอนตาร์กติก) ซึ่งทั้งสองนั้นล้วนเป็นวาฬที่มีจำนวนมากและถูกล่ามากที่สุดในโลก ในแต่ละปีวาฬมิงกี้จำนวน 950ตัวนั้นถูกล่าโดยญี่ปุ่นที่จะเอาไปใช้ในการค้นคว้า 1,000ตัวถูกล่าโดยนอร์เวย์ 50ตัวถูกล่าโดนเรือเล็กของไอซ์แลนด์และ 212ตัวถูกล่าโดยชนเผ่าอินุอิทแห่งกรีนแลนด์เพื่อส่วนต่างๆของร่างกาย ประชากรของวาฬมิงกี้ในซีกโลกใต้นั้นคาดว่าอาจจะมีมากกว่า 450,000ตัว ซึ่งในเขตแอตแลนติกเหนือนั้นมีอยุ่ 145,000ตัวและทางตะวันตกของเขตแปซิฟิกเหนืออีก 25,000ตัว วาฬมิ้งกี้เป็นสัตว์กรางกิน ซึ่งอาหารของมันนั้นได้แก่คริลและฝูงปลาตัวเล็กๆ วาฬมิงกี้เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำเร็วขัดกับขนาดของร่างกาย ซึ่งความเร็วของมันนั้นอยู่ที่ 25.8-33.8 กม. ต่อ ชม. (ตอนกินอาหารความเร็วจะลดลงเหลือ 9.7 กม. ต่อ ชม.) ถึงแม้ว่าวาฬมิงกี้นั้นจะอยากรู้อยากเห็น ซึ่งมันก็อาจจะเข้ามาใกล้เรือบ้างในบางครั้ง แต่ปรกติแล้ว มันใช้เวลาน้อยใกล้ผิวน้ำและเป็นสัตว์สันโดษ นอกจากนี้ วาฬมิงกี้ยังยากต่อการสังเกตเห็นเพราะการหายใจ(พ่นน้ำ) ของมันนั้นแทบจะมองไม่เห็น และมันก็จะหายลงทะเลลึกไปทันทีหลังจากหายใจเสร็จ วาฬมิ้งกี้มีลักษณะเด่นเฉพาะคือร่างกายที่ผอมยาวและจมูกรูปสามเหลี่ยม มันมีบาสีนสีเหลือง-ขาวจำนวน 280-300ซี่ ซึ่งแต่ละซี่ยาวไม่เกิน 28ซม. ร่างกายของวาฬมิงกี้นั้นมีสีเทาเข้มและวาฬมิงกี้ธรรมดาจะมีวงขาวบนครีบแต่ละข้าง
Photo:http://www.meekhao.com/news/japan-minke-whale-hunting
วาฬสีเทา (Gray Whale)
ยาว 12.2-15.3 เมตร
หนัก 27-36 ตัน
วาฬสีเทาเป็นวาฬชายฝั่งที่เรามักจะเจอพร้อมกับเพรียงและสัตว์อื่นๆเต็มหัวและหลังไปหมด ประชาการของมันมีอยู่ 2 แห่งด้วยกันคือ วาฬสีเทาทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ ซึ่งประชากรที่นี่เป็นหนึ่งในวาฬใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในโลก (มีประชากรน้อยกว่า 100ตัว) ประชากรอีกแห่งของวาฬสีเทานั้นคือพวกแปซิฟิกตะวันตก ซึ่งเป็นประชากรที่กำลังฟื้นตัวจากการล่าอย่างหนักจนเกือบสูญพันธุ์ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 (ตอนนี้ประมาณ 20,000ตัว) วาฬสีเทาตะวันออกนั้นมีชื่อเสียงมาจากมหากาพย์การอพยพของพวกมัน ฝูงวาฬสีเทาจะเริ่มอพยพจากทะเลแบร์รึ่งและทะเลชุกไคอันหนาวเหน็บ(น่านน้ำแถบอลาสก้า) มาถึงน่านน้ำอุ่นของเม็กซิโกเป็นระยะทางรวมถึง 20,000 กม.(<–นี่แค่เที่ยวเดียวนะ) เพื่ออาศัยในหน้าหนาวและแพร่พันธุ์ สำหรับการล่าวาฬสีเทา มันถูกกำหนดว่าถูกล่าได้ไม่เกินปีละ 140ตัวจากสหรัฐอเมริกาและรัสเซีย วาฬสีเทาเป็นวาฬสปีชีส์เดียวที่หาอาหารตามพื้นทะเล ซึ่งมันจะหาอาหารโดยการใช้จมูกไล่เหยื่อออกจากพื้นทรายแล้วจึงใช้บาลีนกรองกิน บาลีนของวาฬสีเทานั้นยาว 46ซม. และมีความยึดเกาะได้ดีเหมือนนิ้วมือ วาฬสีเทานั้นไม่มีครีบหลังแต่ประมาณ 2/3ของหลังของมันนั้นคือสันและตามมาด้วยปุ่มจำนวน 9-13ปุ่มไปจนถึงครีบหาง วาฬสีเทาสามารถกลั้นหายใจได้นาน 15 นาที ว่านน้ำด้วยความเร็ว 4.8-9.6 กม. ต่อ ชม. และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 120ม. ลูกวาฬสีเทาเกิดใหม่นั้นยาว 4.9 ม. และหนัก 500 กก. ซึ่งแม่วาฬนั้นจะหวงลูกมากจนมันได้ชื่อว่า “ปลาปีศาจ” จากนักล่าวาฬเพราะมันจะปกป้องลูกด้วยความรุนแรง
Photo:https://annenatjaree.wordpress.com/2012/01/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B2/
วาฬหลังค่อม (Humpback Whale)
ยาว 14.6-19 เมตร
หนัก 36 ตัน
วาฬหลังค่อมเป็นวาฬที่เรารู้จักกันมากที่สุดเพราะครีบและหางโดเด่น การกระโดขึ้นมาเหนือน้ำ และเสียงร้องของมัน ซึ่งเสียงร้องของวาฬหลังค่อมนี้เป็นอะไรที่ซับซ้อนที่ได้ยินไปไกลถึง 161 กม. และอาจจะยาวนานถึง 1 ชม. การศึกษาพบว่าวาฬหลังค่อมใช้เสียงเพื่อการสื่อสารและดึงดูดคู่ วาฬหลังค่อมมีหางยาวมากที่อาจจะกว้างถึง 3.7ม. ครับของมันนั้นก็ใหญ่ไม่แพ้กันทำให้ถูกเรียกว่า “ปีก” (ชื่อทางวิทยาศาสตร์ “เมก้า” มาจากภาษากรีกแปลว่า “ใหญ่” และ “เพทรอน” แปลว่า “ปีก”) โดยเฉพาะตอนกระโดดเหนือน้ำ หัวใจของวาฬหลังค่อมนั้นหนัก 158.8 กก. และมีห้องจำนวน 4ห้อง วาฬหลังค่อมเป็นวาฬที่เคยถูกล่ามากซึ่งทำให้มันถูกคุ้มครองตั้งแต่ช่วงกลางทศวีษที่ 1960(2503) แต่ในปัจจุบัน จำนวนประชากรวาฬหลังค่อมนั้นกำลังเพิ่มจำนวนขึ้นในหลายแห่งของโลก ซึ่งประชากรของมันนั้นอาจจะมีมากกว่า 30,000ตัวทางซีกโลกใต้ 15,000ตัวในแอตแลนติกเหนือและ 18,000ตัวในแปซิฟิกเหนือ วาฬหลังค่อมถูกจำกัดจำนวนการล่าจากชนเผ่าพื้นที่ผสมพันธุ์ใกล้เส้นศูนย์สูตรเป็นระยะทางรวม 4,989 กม. ซึ่งใช้เวลานาน 3 เดือน วาฬหลังค่อมที่กลั้นหายใจได้ไม่นานและว่ายน้ำไม่เร็วซึ่งมันสามารถกลั้นหายใจได้ 4-7 นาทีและว่ายน้ำเร็ว 14.5 กม. ต่อ ชม. วาฬหลังค่อมกินอาหารโดยการเอาน้ำเข้าไปด้วยแล้วจึงค่อยกรองออกมา ซึ่งมันอาจจะกินอาหารถึง 1ตันทุกๆวัน วาฬหลีงค่อมมีอายุขัย 40-50ปี และตั้งท้องนานเกือบ 11เดือน ซึ่งลูกวาฬนั้นจะกินนทปริมาณ 100แกลลอนทุกๆวัน
Photo:https://annenatjaree.wordpress.com/2012/01/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1/
วาฬบรูด้าซ์ (Bryde’s whale)
ยาว 13.7-14.5 เมตร
หนัก 16-18.5 ตัน
วาฬบรูด้าซ์เป็นวาฬที่เล็กเป็นที่สองในหมู่ Rorqual ที่พบส่วนใหญ่ในน่านน้ำเขตร้อนหรือกึ่งทำให้มันไม่ค่อยมีไขมันเหมือนวาฬอื่นๆ วาฬบรูด้าซ์เป็นวาฬที่คนมักจำผิดกับวาฬเซย์(นักล่าวาฬรู้ว่าพวกเขากำลังล่าวาฬ 2 สปีชีส์เมื่อต้นศตวรรษที่19) วาฬบรูด้าซ์นั้นถูกตั้งชื่อตาม จอห์น บรูด้า ชาวนอร์เวย์ผู้เป็นคนช่วยสร้างสถานีล่าวาฬในแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นที่ๆวาฬบรูด้าซ์ถูกพูดถึงครั้งแรก สิ่งที่แยกแยะวาฬบรูด้าซ์ออกจากวาฬเซย์นั้นคือหัวของวาฬบรูด้าซ์มีสัน 3สัน โผล่ออกมาและแผ่นพับใต้คอ 40-50พับ ครีบของวาฬบรูด้าซ์นั้นค่อนข้างสั้น (9-10% ของร่างกาย) และมีรูปร่างแหลมตรงปลาย ประชากรของวาฬบรูด้าซ์นั้นไม่เป็นที่แน่ชัดแต่คาดว่ามีจำนวน 25,000 ตัว ในตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ วาฬบรูด้าซ์เป็นวาฬที่ถูกล่ามากจนถึงปลายทศวรรษที่ 1980ก่อนที่จะมีกฎหมายออกมา ในปัจจุบัน วาฬบรูด้าซ์นั้นถูกประเทศญี่ปุ่นล่าเพื่อเอาไปใช้ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ปีละ 50ตัวและประชากรของมันก็ไม่ได้ลดลงรวดเร็วเท่าวาฬสีน้ำเงินและวาฬฟิน
Photo:http://www.cetacea.ru/galery/Humpbackp.htm
วาฬหัวคันศร (Bowhead Whale) – Balaena mysticetus
ยาว 14-15เมตร
หนัก 50-60ตัน
วาฬหัวคันศรเป็นวาฬที่ใช้ชีวิตในมหาสมุทรแอตแลนติกเท่านั้น ซึ่วมันใช้หัวใหญ่ๆรุปสามเหลี่ยมที่เต็มไปด้วยกระดูกนั้นกระเทาะน้ำแข็งขวางทาง หัวของวาฬหัวคันศรนั้นใหญ่ถึง 1/3ของความยาวลำตัวและตรงใกล้ๆรูหายใจนั้นก็มีสัน (stack) ที่ช่วยให้มันกะเทาะน้ำแข็งหนา 30-6-ซม. เพื่อขึ้นมาหายใจได้ ปากของวาฬหัวคันศรอาจยาวได้ถึง 4.9เมตร , สูงถึง 3.7เมตร และกว้างถึง 2.4เมตร ลิ้นของมันหนักประมาน 1ตัน วาฬหัวคันศรไม่มีกระโดงหลังและถูกเรียกโดยนักล่าวาฬว่า วาฬไร้ท์กรีนแลนด์ เพราะความที่มันลักษณะคล้ายและเป็นญาติกับวาฬไร้ท์ ชื่อหัวคันศรนั้นได้มาจากขากรรไกรบนของมันที่สูงและโค้งเหมือนคันธนู ประชากรของวาฬหัวคันศรนั้นคาดว่ามีมากกว่า 17,000ตัว ซึ่งในทุกๆปี ชนพื้นเมืองในอลาสก้า, Chukotkaและกรีนแลนด์ จะถูกอนุญาตให้ล่าวาฬหัวคันศรได้จำนวน 69ตัวตามกฎหมายของ Iwc เพราะมันเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของพวกเขา โดยไขมัน, กล้ามเนื้อและอวัยวะบางอันของวาฬหัวคันศรนั้นถูกใช้เป็นอาหารที่ให้พลังงานมาก และบาลีนของมันนั้นก็ถูกใช้ทำเครื่องมือ , ตระกร้าและงานศิลป์ บาลีนของวาฬหัวคันศรนั้นยาวที่สุดในหมู่วาฬด้วยกัน โดยแต่ละเส้นอาจจะยาวถึง 3เมตร นอกจากนี้กระดูกของวาฬหัวคันศรก็ยังถูกใช้ทำโครงสร้างบ้านเรือนและที่จับของเครื่องมือ วาฬหัวคันศรได้ปรับตัวให้เข้ากับอากาศหนาวเย็นของแอตแลนติกโดยการมีไขมันที่หนาถึง 60ซม. ซึ่งเป็นไขมันที่มากที่สุดในหมู่วาฬเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว วาฬหัวคันศรมีอายุขัยถึง 200ปี ซึ่งเป็นอายุขัยที่ยาวนานที่สุดในหมู่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ20ปี แม่วาฬตั้งท้องนาน 13-14เดือน ออกลูกครั้งละ 1ตัวทุกๆ 3-4ปี และลูกเกิดใหม่นั้นยาว 3.5-5.5เมตร
Photo:https://annenatjaree.wordpress.com/2012/01/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%A3/
วาฬเสปิร์ม หรือ วาฬหัวทุย ( Sperm Whale ) – Physeter macrocephalus
ยาว 15-18 เมตร
หนัก 31.8-40.8ตัน
วาฬเสปิร์มเป็นวาฬที่มีฟัน (Toothed Whale) ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกและยังเป็นวาฬยักษ์ (Great whale ) ชนิดเดียวที่มีฟันกับรูหายใจ 1รู วาฬเสปิร์มมีลักษณะโดดเด่นมาจากหัวใหญ่ยักษ์ของมัน (ยาวและหนัก 1/3ของร่างกาย) ที่ข้างในเต็มไปด้วยสิ่งที่เรียกว่า “Spermaceti” (นักล่าวาฬเคยคิดว่าไอ้สิ่งนี้คือน้ำอสุจิมาก่อน) ที่เอาไว้ทำไขมันและจะกลายเป็นขี้ผึ้งเมื่ออากาสเย็น ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า Spermaceti เป็นสิ่งที่ช่วยวาฬเสปิร์มในการลอยตัว วาฬเสปิร์มไม่เพีงจะมีหัวใหญ่แล้ว แต่สมองของมันก็ใหญ่ที่สุดในสัตวืไหนๆเท่าที่เคยมีมา โดยสมองของมันหนักถึง 4.2กก. วาฬเสปิร์มสามารถพบได้ในน่านน้ำทั่วโลก วาฬเสปิร์มตัวเมียเป็นวาฬที่ไม่อพยพเหมือนวาฬบาลีนอื่นๆ แต่ตัวผู้นั้นจะอพยพไปทางเหนือและกลับมาเพื่อผสมพันธุ์เพราะว่าอาหารโปรดของวาฬเสปิร์มนั้นคือหมึกยักษ์ที่อาศัยอยู่ในน้ำลึก มันจึงเป็นนักดำน้ำชั้นยอด ขนาดที่สามารถดำน้ำได้ลึกกว่าวาฬไหนๆ วาฬเสปิร์มนั้นสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,000เมตร และกลั้นหายใจได้นานถึง 1ชั่วโมงครึ่ง (มากที่สุดเท่าที่เคยบันทึกไว้คือ 2ชม.+) ในแต่ละวัน วาฬเสปิร์มจะกินอาหารหนักถึง 1ตัน วาฬเสปิร์มเป็นวาฬตัวผู้ที่มีขนาดและน้ำหนัก หนักมากกว่าตัวเมีย โดยตัวผู้นั้นหนัก 45ตันและยาว 15เมตร ส่วนตัวเมียหนัก 20ตันและยาว 11เมตร วาฬเสปิร์มนั้นว่ายน้ำเร็ว 37กม. ต่อ ชม. เพราะหางที่กว้าง 5เมตรและครีบที่ยาว 1.5เมตรของมัน วาฬเสปิร์มมีอายุขัยถึง 77ปี และเข้าสู่วัยเจริญพันธ์เมื่ออายุ 7-12ปี แม่วาฬตั้งท้องนาน 14-16เดือน และให้กำเนิดลูกครั้งละตัวที่มีน้ำหนัก 1ตัน และยาว 3.4-4.9เมตร วาฬเสปิร์มถูกล่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 และถูกคุ้มครองตั้งแต่ปี 1982 (2525) หลังจากที่พวกมันโดนล่า 30,000ตัวทุกๆปี จำนวนประชากรของวาฬเสปิร์มนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด แต่คาดว่าอาจจะมีจำนวน 1-2ล้านตัวในอดีต และประมาณ 360,000 – 1ล้านตัวในปัจจุบัน ญี่ปุ่นนั้นถูกนุญาให้จับวาฬเสปิร์มในแปซิฟิกเหนือปีละไม่เกิน 1ตัว
Photo:http://www.unigang.com/Article/20561
วาฬเซย์ (Sei Whale) – Balaenoptera borealis
ยาว 13.6 – 16เมตร
หนัก 20-25ตัน
วาฬเซย์เป็นวาฬว่ายน้ำเร็วใกล้สูญพันธุ์ที่เคยถูกล่าเป็นจำนวนมากในแอนตาร์กติกช่วง 1960s (1503+) หลังจากที่วาฬสีน้ำเงิน , วาฬฟินและวาฬหลังค่อมโดนล่าจนล่าไม่ได้อีก เหตุผลที่วาฬเซย์ไม่ได้รับความสนใจจากนักล่ามากนักก็เพราะว่ามันเป็นวาฬที่อาศัยอยู่ในน่านน้ำค่อนข้างอุ่นซึ่งทำให้ไม่มีไขมันหนาๆที่พวกเขาต้องการ วาฬเซย์ในแอนตาร์กติกและแปซิฟิกเหนือนั้นได้รับการคุ้มครองตั้งแต่ท้ายทศวรรษที่ 1970(2513) และพวกที่อยู่ทางแอตแลนติกเหนือก็ได้รับการคุ้มครองตั้งแต่ 1982 (2525) ในปัจจุบันญี่ปุ่นนั้นได้รับอนุญาติล่าวาฬเซย์ในแปซิฟิกเหนือปีละ100ตัว เพื่อเอาไปศึกษาทางวิทยาศาสตร์ ชื่อของวาฬเซย์นั้นมาจากภาษานอร์วีเจียน คำว่า seje ซึ่งเป็นชื่อสำหรับปลาชนิดหนึ่งที่มักจะอพยพมาที่นอร์เวย์เหนือ ในเวลาเดียวกันกับวาฬเซย์ วาฬเซย์เป็นวาฬที่ผอมยาวมีสัน 1สันบนหัวและหนังพับใต้คอ 32-60ทบ มันมีบาลีนจำนวน 320-380 เส้น ซึ่งแต่ละเส้นนั้นยาว 49ซม. และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.01 ซม. ซึ่งเป็นบาลีนที่บางที่สุดในหมุ่หมู่วาฬด้วยกัน วาฬเซย์สามารถว่ายน้ำได้เร็วถึง 48.3กม. ต่อ ชม. วาฬเซย์มีอายุขัยถึง 74ปีแล้วเข้าสุ่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 10ปี แม่วาฬนั้นตั้งท้องนาน 11.5-12เดือนและให้กำเนิดลูกครั้งละตัวที่มีน้ำหนัก 907.2กก. และยาว4.3-4.6เมตร
Photo:https://annenatjaree.wordpress.com/2012/01/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A2%E0%B9%8C/
วาฬไร้ท์ (Right Whale)
ยาว 13.5-18 เมตร
หนัก 40-80ตัน
วาฬไร้ท์สามารถแบ่งได้เป็น 3สปีชีส์ย่อย ได้แก่ วาฬไร้ท์แอตแลนติกเหนือ (Eubalaena glacialis) , วาฬไร้ท์แปซิฟิกเหนือ (Eubalaena japonica) และวาฬไร้ท์ซีกโลกใต้ (Eubalaena australis) ซึ่งจากการศึกษายีนของเหาวาฬพบว่าทั้ง3 สปีชีส์ได้แยกจากกันเมื่อ 5-6ล้านปีที่แล้ว วาฬไร้ท์ได้ชื่อมาจากการที่มันเป็นวาฬที่ “ถูกต้อง (right)” ที่จะล่าเพราะความเชื่องช้า , การอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งและร่างกายที่ลอยน้ำเมื่อโดนฆ่าเนื่องจากมีไขมันหนา ไขมันและบาลีนของวาฬไร้ท์นั้นถูกนำไปใช้ทำโครงเสื้อรัดตัวสตรี , แส้หวดม้าและงานศิลป์อื่นๆ วาฬไร้ท์นั้นถูกคุ้มครองตั้งแต่ 1930s (2473+) แต่การล่าวาฬไร้ท์แปซิฟิกซีกโลกใต้เป็นจำนวนมากผิดกฏหมายของโซเวียดนั้นก้ยังดำเนินไปจนถึง 1970s (2513+) ซึ่งในปัจจุบันประชากรของวาฬไร้ท์ทางแปซิฟิกเหนือนั้นเหลืออยู่ประมาณ 200ตัวและน้อยกว่า 400ตัวสำหรับพวกทางแอตแลนติกเหนือซึ่งทำให้ประชากร2แห่งนี้ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในหมู่วาฬยักษ์ด้วยกัน (แต่พวกทางซีกโลกใต้นั้นเหลืออยู่ประมาณ 8,000-10,000ตัว) วาฬไรท์มีหัวขนาดใหญ่ 1/3ของลำตัวและมีบาลีนสีดำจำนวน 225-250เส้น ซึ่งแต่ละเส้นยาว 2.2เมตร วาฬไร้ท์นั้นกินอาหารโดยการว่ายน้ำอย่างช้าๆ (ช้ามาก… 17กม.ต่อชม.) ไปเรื่อยๆขณะที่เปิดปากเพื่อทำให้น้ำเข้าปากไปและเหยื่อจะติดอยู่ใกล้ๆลิ้นทำให้กลืนได้ วาฬไร้ท์มีอายุขัยอย่างน้อย 70ปีและเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่อมีความยาว 10.7-13.7เมตร (อายุประมาณ10ปี) อวัยวะสืบพันธุ์ของวาฬไร้ท์ตัวผู้หนักถึง 453.6กก.ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่ามันเอาโบจามะใหญ่ๆนี้ไว้เพื่อผลิตเสปิร์มจำนวนมากเพื่อที่จะทำให้โอกาสการตั้งครรภ์มีสูงขึ้น วาฬไร้ท์ตั้งท้องนานประมาณ 1ปีและให้กำเนิดลูกครั้งละตัวที่มีความยาว 6.1เมตร วาฬไร้ท์นั้นสามารถดำน้ำได้ลึกอย่างน้อย 304.8เมตร และกลั้นหายใจได้นานถึง 40นาที
Photo:https://annenatjaree.wordpress.com/2012/01/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B9%8C/
วาฬฟิน (Fin Whale) – Balaenoptera physalus
ยาว 19-22.3เมตร
หนัก 45-75ตัน
วาฬฟินเป็นวาฬพบได้ทั่วโลกที่ใหญ่เป็นที่2ของโลกรองจากวาฬสีน้ำเงินญาติของมัน (บางครั้งลูกผสมระหว่างวาฬฟินกับวาฬสีน้ำเงินก็โผล่ออกมาให้เห็น) และเป็นวาฬที่ว่ายน้ำเร็วที่สุดในโลกโดยความเร็วของวาฬฟินนั้นอยู่ที่ 22.2กม. ต่อ ชม. และเมื่อเร่งความเร็วนั้นจะอยู่ที่ 37.04-55.6 กม. ต่อ ชม. ซึ่งทำให้มันถูกเรียกว่า “ เกรย์ฮาวด์แห่งท้องทะเล” นอกจากนี้วาฬฟินยังถูกเรียกชื่อว่า “หลังมีดโกน” อีกด้วยเพราะรูปร่างของมัน วาฬฟินเป็นวาฬที่ถูกคุ้มครองตั้งแต่ปี 1976 (2519) ซึ่งจำนวนประชากรของมันมีอยู่ประมาณ 40,000-50,000ตัว ในแอตแลนติกเหนือ ชนเผ่าของกรีนแลนด์นั้นสามารถล่าวาฬฟินได้ไม่เกิน 19ตัวต่อปี และญี่ปุ่นนั้นก็เป็นอีกประเทศที่ล่าวาฬฟินเป็นจำนวน 50ตัวต่อปี เพื่อเอาไปใช้ศึกษาทางวิทยาศาสตร์ วาฬฟินเป็นวาฬบาลีนที่กินอาหารถึง 2ตันในแต่ละวัน ซึ่งมันจะกินอาหารโดยการฮุบน้ำเข้าไปแล้วค่อยใช้บาลีนกรองน้ำออก บาลีนของวาฬฟินมีจำนวน 262-273เส้น ซึ่งแต่ละเส้นยาวถึง 76ซม. และกว้าง30ซม. วาฬฟินมีอายุขัยประมาณ 114ปี และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 6-10ปี แม่วาฬนั้นตั้งท้องนาน12เดือนและออกลุกครั้งละตัวทุกๆ 3-4ปี ซึ่งลูกวาฬฟินนั้นมีขนาดแรกเกิด 5.5-6.5เมตร และหนักประมาณ 2ตัน วาฬฟินสามารถดำน้ำได้ลึก 550เมตรและว่ายน้ำเป็นระยะทางถึง 290กม. ทุกๆวัน วาฬฟินสามารถใช้หางเป็นอาวุธป้องกันตัวจากฉลามและวาฬเพชฌฆาตได้ โดยมันเคยตีเรือแตกเป็นเสี่ยงๆมาแล้ว
Photo:http://hilight.kapook.com/view/86596?view=full
วาฬสีน้ำเงิน (Blue Whale) – Balaenoptera musculus
ยาว 25-32 เมตร
หนัก 100 – 120 ตัน
วาฬสีน้ำเงินคือวาฬและสัตว์ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาบนโลก วาฬสีน้ำเงินเคยถูกล่าอย่างหนัก (โดนล่า 360,000ตัว) จนเกือบสูญพันธุ์ในช่วงศตวรรษที่20 ก่อนที่มันจะได้รับการคุ้มครองในช่วงกลางปี 1960s (2503+) ในปัจจุบัน วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ที่มีจำนวนประชากร 10,000 – 25,000ทั่วโลก วาฬสีน้ำเงินนั้นไม่เพียงแต่มีขนาดใหญ่ แต่ทุกอย่างเกี่ยวกับมันก็ใหญ่ไปด้วย เริ่มตั้งแต่ลิ้นที่หนักเท่าๆช้าง1เชือก (คน100คนสามารถเข้าไปอยู่ในปากมันได้),หัวใจที่หนักเท่าๆรถ1คัน (907กก. ซึ่งเสียงหัวใจของมันสามารถได้ยินไปไกล 3.2เมตร และคนสามารถไปวิ่งเล่นในเส้นเลือดของมันได้) และแม้แต่ลมหายใจที่สูงถึง9เมตรของมัน นอกจากนี้วาฬสีน้ำเงินก็ยังต้องกินอาหารจำนวนมากเพื่อสนองความต้องการร่างกายขนาดยักษ์ของมันด้วย ซึ้งในแต่ละวันวาฬสีน้ำเงินจะกินคริลปริมาณ 4ตัน (3,000,000แคลโลรี่) ซึ่งมันกินโดยการฮุบน้ำเข้าไปด้วยแล้วจึ่งใช้ลิ้นดันน้ำออกเพื่อทำให้คริลไปติดอยู่ตรงบาลีนและถูกกลืนเข้าไป วาฬสีน้ำเงินมีร่างกายผอมและมีทุกส่วนเท่าๆกันซึ่งทำให้มันมีความเร็วมากกว่า 8 กม. ต่อ ชม. แต่เมื่อเร่งความเร็วก็จะกลายเป็น 32กม. ต่อ ชม. วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ที่เสียงดังที่สุดในโลก (188เดซิเบล) โดยเสียงของมันนั้นสามารถได้ยินไกลไปถึง 1,600 กม. (มากกว่า 160กม. ใต้น้ำ) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า วาฬสีน้ำเงินใช้เสียงนี้เพื่อสื่อสารและนำทางในทะเลที่มืดมิด วาฬสีน้ำเงินสามารถกลั้นหายใจได้นานประมาน 20นาที วาฬสีน้ำเงินมีครีบยาวถึง 32.5 ซม. และมีบาลีนสีดำยาว 51ซม. ตรงด้านหน้ากับด้านข้าง 102ซม. วาฬสีน้ำเงินมีอายุขัยถึง 110ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 10ปี แม่วาฬสีน้ำเงินนั้นตั้งท้องนานประมาณ1ปี และออกลูกครั้งละตัว ซึ่งลูกวาฬสีน้ำเงินแรกเกิดนั้นก็ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว โดยมันหนัก 2.7ตันและยาว 8เมตร ลูกวาฬสีน้ำเงินจะดื่มนมประมาณ 100-150แกลลอนและจะมีน้ำหนักเพิ่ม 90.7 กก. กับความยาวเพิ่ม 3.75ซม. ทุกๆวัน
Photo:http://writer.dek-d.com/miou/story/viewlongc.php?id=687461&chapter=10
ขอบคุณแหล่งข้อมูล http://writer.dek-d.com/ubyi/story/viewlongc.php?id=687461&chapter=143